ผลกระทบ ของ เหตุการณ์ 4.2 พันปี

คาบสมุทรไอบีเรีย

ในคาบสมุทรไอบีเรีย เชื่อว่าการตั้งถิ่นฐานแบบโมติญญาในช่วงหลังปี 2200 ก่อน ค.ศ. นั้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากความแห้งแล้งรุนแรงที่ส่งผลกระทบในพื้นที่นี้

ตามที่เมฆีอัสและคณะได้รายงานการวิจัยด้านบรรพอุทกธรณีวิทยาเชิงสหวิทยาการในลามันชา ประเทศสเปนเป็นครั้งแรก ความว่า

จากการศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นว่าจุดขุดค้น "โมติญญา" จากยุคสัมฤทธิ์ในลามันชาอาจเป็นระบบกักเก็บน้ำใต้ดินที่โบราณที่สุดในคาบสมุทรไอบีเรีย.... โดยระบบเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นในระหว่างเหตุการณ์ภูมิอากาศ 4.2 พันปีก่อนปัจจุบัน ในช่วงเวลาที่มีความตึงเครียดด้านสภาพแวดล้อมเนื่องมาจากยุคแห้งแล้งที่รุนแรงและยาวนาน[24]

โดยการวิเคราะห์ของผู้เขียนเป็นการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างสารตั้งต้นทางธรณีวิทยาและการกระจายเชิงพื้นที่ของโมติญญา

อียิปต์โบราณ

ในประมาณปี 2150 ก่อน ค.ศ. อียิปต์ประสบกับอุทกภัยจากแม่น้ำไนล์ในระดับต่ำเป็นพิเศษเป็นชุด ๆ ซึ่งอาจมีอิทธิพลนำไปสู่การล่มสลายของการบริหารแบบรวมศูนย์ของอาณาจักรเก่าหลังจากภาวะข้าวยากหมากแพง[25]

คาบสมุทรอาหรับ

ในภูมิภาคคาบสมุทรอาหรับ เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการตั้งถิ่นฐานอย่างกะทันหัน รวมไปถึงลักษณะของเคริ่องปั้นดินเผาและสุสาน โดยในศตวรรษที่ 22 ก่อน ค.ศ. ความแห้งแล้งได้ทำให้วัฒนธรรมอุมม์อัลนาร์ถึงจุดล่มสลาย และได้เปลี่ยนไปเป็นวัฒนธรรมวาดีซัคแทน[11]

เมโสโปเตเมีย

ความแห้งแล้งในเมโสโปเตเมียอาจเกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นของการเย็นลงของอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ (Bond event 3) การวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือสมัยใหม่แสดงให้เห็นว่า ปริมาณน้ำที่ถูกนำมายังเมโสโปเตเมียระหว่างปีลดลงเป็นอย่างมาก (ร้อยละ 50) เมื่ออุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกด้านตะวันตกเฉียงเหนือบริเวณใต้ขั้วโลกนั้นลดลงอย่างผิดปกติ[26] ต้นน้ำของแม่น้ำไทกริสและแม่น้ำยูเฟรทีสจึงมาจากปริมาณน้ำฝนที่ถูกดักไว้ในที่สูงของฤดูหนาวในเมดิเตอร์เรเนียน

จักรวรรดิอัคคาเดียนในปี 2300 ก่อน ค.ศ. เป็นอารยธรรมที่สองที่มีการรวมสังคมอิสระเป็นรัฐเดี่ยว (อารยธรรมแรกคืออียิปต์โบราณในช่วงประมาณปี 3100 ก่อน ค.ศ.) มีการกล่าวอ้างว่าการล่มสลายของรัฐนั้นได้รับอิทธิพลมาจากภัยแล้งที่ยาวนานหลายศตวรรษ[27][28] หลักฐานทางโบราณคดีระบว่ามีการละทิ้งที่ราบการเกษตรกรรมทางตอนเหนือของเมโสโปเตเมียเป็นวงกว้าง และมีการอพยพเข้าสู่เมโสโปเตเมียตอนใต้อย่างฉับพลันในช่วงประมาณปี 2170 ก่อน ค.ศ.[29] "ตัวผลักดันแห่งอามูร์" (Repeller of the Amorites) เป็นชื่อของกำแพงยาว 180 กิโลเมตรซึ่งถูกสร้างขึ้นในเมโสโปเตเมียตอนกลางเพื่อสกัดการรุกรานของชนเร่ร่อนจากทางใต้ ในราวปี 2150 ก่อน ค.ศ. ชาวกูเทียนซึ่งแต่เดิมมีถิ่นที่อยู่อาศัยแถบเทือกเขาซากรอสได้ปราบกองทัพอัคคาเดียนได้ และเข้ายึดครองนครแอกแคดและได้ทำลายลงในประมาณปี 2115 ก่อน ค.ศ. และยังมีการเปลี่ยนแปลงทางเกษตรกรรมอย่างแพร่หลายในตะวันออกใกล้ปรากฏให้เห็นในช่วงสิ้นสุดของสหัสวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ.[30]

การตั้งถิ่นฐานใหม่เกิดขึ้นบริเวณที่ราบตอนเหนือโดยประชากรประจำถิ่นในราวปี 1900 ก่อน ค.ศ. สามศตวรรษให้หลังหลังจากจักรวรรดิล่มสลายลง[29]

การศึกษาซากดึกดำบรรพ์ของปะการังในประเทศโอมานให้หลักฐานว่าเกิดฤดูหนาวชามัลอย่างยาวนานเมื่อประมาณ 4200 ปีก่อน นำไปสู่การเค็มของพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งทำให้พืชผลทางการเกษตรลดลงเป็นอย่างมาก และส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง ในที่สุดก็เป็นผลให้เกิดการล่มสลายของจักรวรรดิอัคคาเดียนโบราณ[31][32]

เอเชียกลางและเอเชียใต้

ในสหัสวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ความแห้งแล้งเป็นวงกว้างเกิดขึ้นในที่ราบยูเรเซียและในเอเชียใต้[6][33] ในที่ราบการเปลี่ยนแปลงของพืชพรรณนั้นทำให้เกิด "การเคลื่อนย้ายที่สูงขึ้นและได้เปลี่ยนผ่านไปสู่การเพาะพันธุ์ปศุสัตว์เร่ร่อน"[33][note 1][note 2] โดยปัญหาการขาดแคลนน้ำยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในเอเชียใต้ด้วย

ครั้งนี้เป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ๋ด้วยเหตุผลทางนิเวศวิทยา การที่ฝนไม่ตกเป็นเวลายาวนานทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงในพื้นที่ขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการล่มสลายของวัฒนธรรมเมืองซึ่งอาศัยอยู่เป็นประจำในเอเชียกลาง ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศอิหร่าน และประเทศอินเดีย และนำไปสู่การอพยพครั้งใหญ่ ผู้มาใหม่จึงถูกผนวกเข้ากับวัฒนธรรมหลังเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้[6]

ศูนย์กลางเมืองของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุถูกทิ้งร้างไปและถูกแทนที่ด้วยวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แตกต่างกัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศแบบเดียวกันที่ส่งผลกระทบต่อภูมิภาคใกล้เคียงกันทางตะวันตก[34] ในปี 2559 นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า ความแห้งแล้งและการค้ากับอียิปต์และเมโสโปเตเมียที่ลดลง ทำให้เกิดการล่มสลายของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสนธุ[35] ซึ่งระบบแม่น้ำคักการ์-ฮัคกรานั้นถูกหล่อเลี้ยงด้วยน้ำฝน[36][37][38] และน้ำก็ขึ้นอยู่กับมรสุม ภูมิอากาศของหุบเขาสินธุนั้นเกิดการเย็นลงและแห้งแล้งอย่างมากเมื่อประมาณปี 1800 ก่อน ค.ศ. ซึ่งถูกเชื่อมโยงกับการอ่อนกำลังลงของมรสุม[36] ความแห้งแล้งที่เพิ่มขึ้นนั้นทำให้แม่น้ำคักการ์-ฮัคกราหดสั้นไปจนถึงเชิงเทือกเขาหิมาลัย[36][39][40] ซึ่งนำไปสู่อุทกภัยที่ไม่แน่นอนและมีความรุนแรงน้อย ทำให้เกษตรกรรมในพื้นที่น้ำท่วมถึงนั้นมีความยั่งยืนลดน้อยลง โดยความแห้งแล้งนั้นลดปริมาณน้ำลงอย่างมากพอที่จะทำให้อารยธรรมเกิดการล่มสลาย และทำให้มีการเคลื่อนย้ายของประชากรอย่างกระจายไปทางทิศตะวันออก[5][41][42][43]

จีนโบราณ

ความแห้งแล้งอาจทำให้เกิดการล่มสลายของวัฒนธรรมยุคหินใหม่รอบจีนตอนกลางในช่วงปลายสหัสวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ.[44] ในขณะเดียวกัน ตอนกลางของแม่น้ำเหลืองก็ประสบกับชุดเหตุการณ์อุทกภัยพิเศษ ซึ่งเกี่ยวข้องกับพระเจ้าอวี่ซึ่งเป็นบุคคลในตำนาน[45] ในแอ่งแม่น้ำอี่ชู วัฒนธรรมหลงชานอันรุ่งเรื่องได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิที่ลดลง ซึ่งลดผลผลิตทางการเกษตรอย่างข้าวลงอย่างมาก ทำให้ประชากรลดลงเป็นอย่างมากและมีแหล่งทางโบราณคดีที่น้อยลง[46] ในประมาณปี 2000 ก่อน ค.ศ. วัฒนธรรมหลงชานได้ถูกแทนที่ด้วยวัฒนธรรมเยว์ฉือ ซึ่งมีสิ่งประดิษฐ์เซรามิกและสัมฤทธิ์ที่มีความซับซ้อนน้อยลงและมีจำนวนน้อยลง

ใกล้เคียง

เหตุการณ์ 6 ตุลา เหตุการณ์ 14 ตุลา เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคเพอร์เมียน–ไทรแอสซิก เหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิส พ.ศ. 2551 เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553 เหตุการณ์ นปช. ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 เหตุการณ์ทุจริตการออกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2544 เหตุการณ์โกก้าง เหตุการณ์แก๊สระเบิดที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ พ.ศ. 2533 เหตุการณ์ 4.2 พันปี

แหล่งที่มา

WikiPedia: เหตุการณ์ 4.2 พันปี http://indianexpress.com/article/opinion/columns/a... http://www.livescience.com/20614-collapse-mythical... http://green.blogs.nytimes.com/2012/05/29/an-ancie... http://www.ldeo.columbia.edu/res/pi/arch/examples.... http://rivernet.ncsu.edu/courselocker/PaleoClimate... http://www.igme.es/boletin/2014/125_4/5_%20Articul... http://revistas.ucm.es/index.php/ILUR/article/view... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11303088 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12386332 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17739611